ประวัติและจุดกำเนิดของ Google
กูเกิล (Google Inc.) (แนสแด็ก: GOOG และ LSE: GGEA) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม 2550) โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550)
กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านเหรียญสหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน
ต้นกำเนิด Google
กูเกิลเริ่มก่อตั้งเมื่อ มกราคม พ.ศ. 2539 จากโครงงานวิจัยสำหรับดุษฎีนิพนธ์ของ แลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน นักศึกษามหาวิทยาลัยปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จากสมมุติฐานของเสิร์ชเอนจินที่สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของของเว็บไซต์ มาจัดอันดับการค้นหาที่เรียกว่าเพจแรงก์ โดยชื่อเสิร์ช เอนจินที่ตั้งมาในตอนนั้นชื่อว่า "แบ็กรับ" (BackRub) ตามความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลการลิงก์ย้อนกลับไป (back links) เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของแต่ละเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์ที่มีเว็บไซต์อื่นลิงก์เข้ามาหามากที่สุด จะเป็นเว็บไซต์ที่มีความสำคัญสูงสุด และจะถูกจัดอันดับไว้ดีกว่า โดยทั้งคู่ได้ทดสอบเสิร์ชเอนจิน โดยใช้เซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัยสแตนพอร์ดในชื่อโดเมนว่า google.stanford.eduและต่อมาได้จดทะเบียนบริษัทกูเกิล (Google Inc.) ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยใช้โรงจอดรถของเพื่อนที่เมืองเมนโรพาร์กเป็นสำนักงาน โดยในขณะนั้นมีพนักงาน 4 คนซึ่งรวมบรินและเพจ และชื่อโดเมน google.com ได้ถูกจดทะเบียนเมื่อวันที่ 15 กันยายน ในขณะเดียวกันทั้งคู่ได้ลาพักการเรียน และใช้เวลาในการพัฒนาหาเงินทุนพัฒนาจากครอบครัว เพื่อนฝูง และนักลงทุน เป็นจำนวนเงินกว่า 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงเช็กเงินจาก แอนดี เบกโทลไชม์ ผู้ก่อตั้งซันไมโครซิสเต็มส์
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 บริษัทได้ย้ายไปยังเมืองแพโลอัลโทที่ตั้งของบริษัทคอมพิวเตอร์หลายแห่ง ซึ่งต่อมากูเกิลได้ย้ายบริษัทอีกครั้งไปยังเมืองเมาน์เทนวิว ไปยังสำนักงานใหม่ในชื่อเล่นว่ากูเกิลเพล็กซ์ ซึ่งในปี 2543 กูเกิลได้เปิดธุรกิจในส่วนโฆษณาในชื่อ แอดเวิรดส์ และ แอดเซนส์ โดยเป็นการโฆษณาผ่านคำค้นหา ซึ่งทำให้ข้อความโฆษณาตรงกับความต้องการของผู้ค้นหาเนื้อหาในเว็บไซต์ และสองส่วนนี้กลายมาเป็นธุรกิจหลักของกูเกิลร่วมกับตัวเสิร์ชเอนจิน
เดือนพฤษภาคม 2543 กูเกิลได้มีผู้ใช้งานค้นหาคำมากกว่า 18 ล้านคำต่อวัน ซึ่งกลายมาเป็นเซิร์ชเอนจินอันดับหนึ่งของโลก และในเดือนมีนาคม 2544 เอริก ชมิดต์ อดีตผู้บริหารบริษัทโนเวลล์ และผู้บริหารระดับสูงของซันไมโครซิสเต็มส์ได้เข้ามาร่วมงานกับกูเกิลในตำแหน่งประธานบริหาร
แลรีย์ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ผู้ก่อตั้งGoogle
จัดตั้งบริษัทมหาชน
ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ได้เปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชน โดยมีจำนวนหุ้นทั้งหมด 19,605,052 หุ้นที่ราคา 85 เหรียญสหรัฐต่อหุ้น[8] โดย 14,142,135 หุ้น (อ้างค่าทางคณิตศาสตร์ √2 ≈ 1.4142135) ได้มีการเปิดขายแก่ประชาชนโดยกูเกิล และ 5,462,917 โดยผู้ถือหุ้นขาย หุ้นของกูเกิลในช่วงขายหุ้นครั้งแรกนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงขึ้นมากกว่า 200% ในช่วงปิดตลาดหุ้นของวันแรกที่ได้ประกาศ (เปรีบเทียบกับ ไป่ตู้ เสิร์ชเอนจินของประเทศจีน มูลค่าเพิ่มขึ้น 354% ในช่วงปิดตลาดวันแรก วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2548) และในวันที่ 31 ตุลาคม 2550 หุ้นกูเกิลได้ขึ้นไปสูงถึงราคา 700 เหรียญสหรัฐ กูเกิลอยู่ในตลาดหุ้นแนสแด็ก ในชื่อสัญลักษณ์ GOOG และในตลาดหุ้นลอนดอนในสัญลักษณ์ GGEA
การซื้อกิจการ
ตั้งแต่ปี 2544 กูเกิลได้เริ่มมีการซื้อบริษัทที่มีการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์เข้ามา ตัวอย่างบริษัทและผลิตภัณฑ์ที่มีการซื้อได้แก่ บล็อกเกอร์พัฒนาโดยไพราแล็บส์แพลตฟอร์มสำหรับให้บริการเขียนบล็อก ปีกาซาที่พัฒนาโดยไอเดียแล็บซอฟต์แวร์สำหรับดูไฟล์ภาพและวิดีโอ คีย์โฮลพัฒนาโดยบริษัทคีย์โฮลซอฟต์แวร์สำหรับดูภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิลเอิร์ธ เออร์ชินเว็บแอปพลิเคชันในการวิเคราะห์สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นแอนะลิติกส์ ไรต์รีเว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเอกสารสำนักงานออนไลน์ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของด็อกส์ สเก็ตช์อัปพัฒนาโดยแอตแลสต์ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพสามมิติ ยูทูบเว็บไซต์ให้บริการแชร์วิดีโอออนไลน์ จอตสปอตเว็บไซต์สำหรับสร้างเว็บไซต์แนววิกิปัจจุบันใช้ชื่อไซตส์ ดับเบิลคลิกบริษัทให้บริการโฆษณาออนไลน์ ไจกุเครือข่ายสังคมออนไลน์ โมโตโรล่า โมบิลิตี้ บริษัท ผลิตอุปกรณ์การสื่อสาร
ความร่วมมือ
ตั้งแต่ปี 2548 กูเกิลได้เริ่มมีการร่วมมือกับบริษัทอื่นและหน่วยงานรัฐบาลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มากขึ้น โดยกูเกิลได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยนาซ่าเอมส์ ในด้านการวิจัยระบบจัดการข้อมูล เทคโนโลยีนาโน และการสำรวจอวกาศ กูเกิลยังได้จับมือกับซันไมโครซิสเตมส์โดยได้แบ่งข้อมูลเพื่อใช้ในการวิจัย กูเกิลได้ร่วมมือกับเอโอแอลของไทม์วอร์เนอร์ในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบค้นหาวิดีโอออนไลน์ นอกจากนี้ทางบริษัทได้มีการลงทุนในส่วนของรหัสโดเมนบสุด .mobi ร่วมมือกับหลายบริษัทได้แก่ ไมโครซอฟท์ โนเกีย อีริกสัน
โครงการรณรงค์
กูเกิล ร่วมรณรงค์กิจกรรมการปิดไฟ กับโครงการเอิร์ธ อาวเออร์ (Earth Hour) ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund : WWF) ด้วยการปรับหน้าเว็บเพจเป็นสีดำพร้อมข้อความว่า "เราปิดไฟแล้ว ต่อไปตาคุณ" (We've turned the lights out. Now it's your turn.) ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2551
"Google"
ชื่อ "Google" มาจากคำว่า "googol" ซึ่งหมายถึงจำนวนทางคณิตศาสตร์ที่หมายถึงเลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 อีกหนึ่งร้อยตัว หรือ 10100 เพื่อเป็นการแสดงถึงเป้าหมายของบริษัทที่จะจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล อีกกระแสหนึ่งบอกว่าชื่อ Google มาจากความผิดพลาดในการจดโดเมนเนมในช่วงก่อตั้ง
ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 กูเกิลชนะความในศาล ในคดีที่มีบริษัทอื่นตั้งชื่อใกล้เคียง ได้แก่ googkle.com ghoogle.com และ gooigle.com เพื่อเรียกให้คนอื่นเข้าเว็บไซต์ของตน ทำให้เกิดความเสียหายกับชื่อเสียงของกูเกิล
ผลิตภัณฑ์ของกูเกิล
ซอฟต์แวร์เดสก์ทอปซอฟต์แวร์ของกูเกิล จะเป็นซอฟต์แวร์ให้ดาวน์โหลดใช้งานฟรี และทำงานผ่านระบบของกูเกิล
กูเกิล ทอล์ก
ทอล์ก (Google Talk) ซอฟต์แวร์เมสเซนเจอร์และวีโอไอพี
กูเกิล เอิร์ธ
เอิร์ธ (Google Earth) ซอฟต์แวร์ดูภาพถ่ายผ่านดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ
ปีกาซา
ปีกาซา (Picasa) ซอฟต์แวร์สำหรับดูภาพภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้งานคู่กับเว็บไซต์ปีกาซา
กูเกิล แพ็ก
แพ็ก (Google Pack) เป็นชุดซอฟต์แวร์พร้อมดาวน์โหลด ประกอบด้วย โปรแกรมของกูเกิลเองได้แก่ เดสก์ท็อป ปีกาซา ทูลบาร์ โฟโต้สกรีนเซฟเวอร์ เอิร์ธ ทอร์ก วิดีโอเพลย์เยอร์ และโปรแกรมอื่นรวมถึง ไฟร์ฟอกซ์ สตาร์ออฟฟิศ อะโดบี รีดเดอร์ สไกป์
กูเกิล โครม
โครม (Google Chrome) ซอฟต์แวร์เบราว์เซอร์
สเก็ตช์อัป
สเก็ตช์อัป (SketchUp) ซอฟต์แวร์สำหรับวาดภาพสเก็ตช์ และภาพ 3 มิติ
กูเกิล แมพ
แมพ (Google Map) ซอฟแวร์สำหรับค้นหาแผนที่บนโลก
บริการบนอินเทอร์เน็ต
ชื่อ
|
ชื่ออังกฤษ
|
รายละเอียดย่อ
| |
|
Google Search
|
เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต มีให้บริการมากกว่า 100 ภาษา
| |
|
Google Groups
|
| |
|
Google Image Search
|
บริการค้นหารูปภาพออนไลน์
| |
|
Google Calendar
|
บริการปฏิทินและจดวันนัดหมาย
| |
|
Gmail
|
| |
|
Google Zeitgeist
|
บริการเปิดให้ดูคำค้นหา คำนิยม รูปแบบ และแนวโน้มในการค้นหาผ่านกูเกิลเสิร์ช
| |
|
Google Docs
|
บริการใช้งานซอฟต์แวร์สำนักงานรวมถึง เวิร์ด สเปรดชีต พรีเซนเตชัน ให้ผู้ใช้สามารถได้ฟรีออนไลน์ โดยเพิ่มเติมความสามารถในการแชร์และให้ผู้ใช้หลายคนสามารถแก้ไขไฟล์เดียวกันพร้อมกันได้โดยผู้ใช้ [12] โดยเริ่มพัฒนาจากซอฟต์แวร์ ไรต์รี (Writely) และ กูเกิล สเปรดชีตส์ (Google Spreadsheet) เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2550
| |
|
Google Translate
|
บริการแปลข้อความผ่านเว็บไซต์ รวมถึงแปลเว็บไซต์ทั้งหน้า
| |
|
Blogger
|
| |
|
Blog Search
|
บริการค้นหาบล็อก
| |
|
Picasa
|
เว็บไซต์เก็บภาพ ใช้งานคู่กับซอฟต์แวร์ปีกาซา
| |
|
Google Page
|
บริการสร้างเว็บไซต์
| |
|
Google Notebok
|
บริการสมุดบันทึกออนไลน์
| |
|
Google Maps
|
บริการแผนที่ ค้นหาที่อยู่ ค้นหาธุรกิจและร้านอาหาร
| |
|
YouTube
|
บริการแชร์วิดีโอ
| |
|
Google Video
|
บริการค้นหาวิดีโอออนไลน์
| |
|
Google Webmaster
|
ให้บริการเครื่องมือสำหรับเว็บมาสเตอร์ ตรวจสอบเว็บไซต์ ค้นหาดัชนีการค้นหาผ่านกูเกิล ตรวจสอบโรบอตไฟล์
| |
|
Google Scholar
|
บริการค้นหาวารสาร หนังสือ สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ
| |
|
Google Sky
|
ดูดาว และระบบสุริยะจักรวาลผ่านเว็บไซต์
| |
|
Google Directory
|
ค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ ข้อมูลจาก ดีมอซ
| |
|
Orkut
|
เครือข่ายสังคมออนไลน์ลักษณะคล้ายกับ ไฮไฟฟ์ และเฟซบุ้ก ออกแบบโดยวิศวกรกูเกิลชาวตุรกี ออร์กัต บือยืกเคิกเทน (Orkut Büyükkökten) เปิดใช้งานเมื่อ มกราคม 2547
| |
|
Google AdSense
|
ให้บริการโค้ดสำหรับติดตั้งโฆษณาบนเว็บไซต์ ทำงานคู่กับแอดเวิรดส์
| |
|
Google AdWords
|
บริการโฆษณาผ่านเว็บไซต์ที่ติดตั้งแอดเซนส์
| |
|
Google Analytics
|
บริการนับสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ พร้อมระบบวิเคราะห์ผู้ใช้งาน
| |
|
Google Apps
|
บริการใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการของกูเกิลผ่านทางชื่อโดเมนส่วนตัว โดยแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้เช่น จีเมล แคเลนเดอร์ ทอล์ก ด็อกส์ โดยมีการให้บริการทั้งฟรีและเสียเงิน
| |
|
iGoogle
|
ในชื่อเดิม เพอร์เซอนอลไลส์ ให้บริการทำหน้าเริ่มต้นในการเข้าชมเว็บไซต์ โดยสามารถนำเว็บฟีดและแก็ดเจ็ต จากเว็บอื่นมารวมได้
| |
|
Google guru
|
เชิญให้สมาชิก Gmail เข้ามาตั้งคำถามและตอบคำถามได้ โดยมีคะแนนที่ทางกูเกิลให้เมื่อเข้ามาที่กูเกิล สามารถใช้ตั้งคำถามได้ เป็นเวอร์ชันทดลองให้ไปลองใช้กัน พบแต่ในประเทศไทยเท่านั้น
| |
|
Google Plus
|
เครือข่ายสังคมออนไลน์ล่าสุดจากกูเกิล (เปิดตัวในวันที่ 28 มิ.ย. 2554 โดยจำกัดจำนวนผู้ใช้งานให้ทดลองใช้เฉพาะผู้ที่มี invite หลังจากนั้นวันที่ 20 ก.ย. 2554 ก็เปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปได้ใช้งานโดยไม่ต้องมี invite)
| |
|
Google Music
|
บริการฟังเพลง-ดาวน์โหลดเพลงออนไลน์จากกูเกิล ในเบื้องต้นเปิดใช้เป็นทางการเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา
| |
โดยบริการที่อยู่ในขั้นทดลอง จะเปิดให้ใช้งานโดยจะมีคำว่า "Beta" อยู่ภายใต้โลโก้นั้นซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งองโครงการกูเกิล แล็บส์ (Google Labs)
บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
- Map's for mobile
- Mobile
- SMS
ระบบปฏิบัติการ
แอนดรอยด์ (Android) ระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟนที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
โครม โอเอส (Chrome OS) ระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เน็ตบุ๊ค ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่ 2 ราย คือ ซัมซุง และ เอเซอร์
กูเกิลทีวี (Google TV) ระบบปฏิบัติการบนโทรทัศน์รุ่นใหม่ เช่น สมาร์ททีวี แอลอีดีทีวี สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านทีวีได้
สำนักงาน
กูเกิลมีสำนักงานหลายสาขาทั่วโลก โดยในสหรัฐอเมริกามีมากกว่า 20 สาขา และที่อื่นทั่วโลกมากกว่า 40 แห่ง กูเกิลสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิวในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยสถานที่ตั้งของสาขาทั้งหมดดังนี้
สหรัฐอเมริกา
อเมริกาเหนือ
อเมริกาใต้
ออสเตรเลีย
|
เอเชีย
ยุโรป
|
ความขัดแย้งในกฏและสิทธิ
การเติบโตของกูเกิลในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และการบริการ ก่อให้เกิดความขัดแย้งและการวิพากษ์วิจารณ์หลายครั้ง ตัวอย่างเช่นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เขียนหนังสือ จากการให้บริการค้นหาหนังสือผ่าน กูเกิล บุ๊กเสิร์ช ที่มีการนำข้อมูลจากหนังสือมาสแกนเพื่อให้ผู้ใช้งานค้นคว้าง่ายขึ้นเช่นเดียวกับการค้นหาภาพผ่าน กูเกิล ค้นหารูปภาพ นอกจากนี้ยังมีการวิจารณ์ที่กูเกิลได้ทำการเซ็นเซอร์ข้อมูลในการค้นหาบางส่วน เช่นกูเกิลได้ยอมให้ในประเทศจีน ที่ทางรัฐบาลไม่ต้องการให้ผู้ใช้งานกูเกิลจีนค้นหาข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม กูเกิลได้ทำการเซ็นเซอร์ข้อมูลเกี่ยวกับ การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน และเช่นเดียวกันในการเซ็นเซอร์ของเยอรมนีและฝรั่งเศสเกี่ยวกับการล้างชาติพันธุ์โดยนาซี
ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัวนั้นกูเกิลถูกวิจารณ์ว่าได้เก็บข้อมูลการใช้งานอินเทอร์เน็ตในรูปแบบของคุกกี้ เป็นระยะเวลานานกว่าเว็บไซต์อื่น โดยทางกูเกิลเก็บข้อมูลไว้เป็นเวลา 18 เดือน ขณะที่ทางยาฮู!และเอโอแอลเก็บข้อมูลเป็นเวลา 13 เดือน ทางด้านข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายผ่านดาวเทียม ที่แสดงผลผ่าน กูเกิล เอิร์ธ และกูเกิล แมปส์ ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากหน่วยความมั่นคงของหลายประเทศ ในด้านความเป็นส่วนตัว และการล้วงความลับทางการเมือง รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถดูสถานที่สำคัญโดยไม่มีการเซ็นเซอร์ เช่น พระราชวัง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายในด้านการจารกรรมและปัญหาการก่อการร้ายได้โดยง่าย ถึงแม้ว่าข้อมูลเหล่านั้นจะเปิดให้ดูได้มานานก่อนหน้าที่กูเกิลจะออกซอฟต์แวร์ก็ตาม
ในด้านการโฆษณาผ่านกูเกิล ได้มีการวิจารณ์ในระบบการโฆษณาที่ไม่มีประสิทธิภาพเต็มความสามารถ ซึ่งทางเจ้าของเว็บไซต์ที่ติดตั้งโฆษณาพยายามโกงโดยการกดโฆษณาเองเพื่อเพิ่มรายได้ให้ตนเอง ทำให้ผู้ลงโฆษณาต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นซึ่งมีรายงานว่า 14-20 เปอร์เซนต์ เป็นการกดโดยตั้งใจเพื่อทำรายได้ให้กับเจ้าของเว็บ นอกจากนี้กูเกิลยังโดนกล่าวถึงในเรื่องของการกีดกันโอกาสของคนต่างเพศและคนสูงอายุจากอดีตพนักงานที่โดนเชิญให้ออก
อ้างอิง: httpth.wikipedia.orgwiki%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A5